ผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศ

andreaair-shanghai

มลพิษทางอากาศ ส่งให้เกิดผลเสียที่ตามมามากมาย ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ทุกสิ่งทุกอย่างในสภาพแวดล้อมล้วนแล้วแต่มีผลทั้งสิ้น ปัญหามลพิษทางอากาศมีผลกระทบ ดังนี้

ผลกระทบต่อมนุษย์

– เกิดการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน สาเหตุเช่นนี้เกิดจากการสูดดมเอามลพิษทางอากาศที่มีปริมาณเข้มข้น และรุนแรงเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นก๊าซพิษบางชนิดที่สามารถทำลายอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ได้ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลัน เช่น หัวใจล้มเหลว ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น และในบรรดาที่ได้รับผลกระทบนั้นมักเป็นเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานน้อยหรืออ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เป็นต้น ทำให้ร่างกายต้านทานสิ่งแปลกปลอมจากมลพิษไม่ไหว อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
– เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดจากการที่สัมผัสหรือหายใจมลพิษที่ไม่มีความเข้มข้นมากแต่สะสมเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังประเภทเป็นๆ หายๆ เช่น โรคภูมิแพ้ ตาอักเสบ ผื่นคันทางผิวหนัง เป็นต้น
– เกิดการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ เกิดจากการสะสมมลพิษในร่างกายเป็นระยะเวลานาน รักษาไม่หายเสียที จึงทำให้ลุกลามไปเรื่อยๆ อวัยวะต่างๆ เริ่มอ่อนแอลง เช่น การเสื่อมสภาพของปอดทำให้ระบาย และฟอกอากาศได้ไม่ดีนัก การเกิดภาวะเลือดจาง ไตวาย เป็นต้น
– เกิดความเดือดร้อน หากบริเวณที่อยู่อาศัยนั้นมีฝุ่นหรือควันคละคลุ้งอยู่ตลอด หายใจเข้าก็เหม็น ไม่สบายจมูก ทำให้เกิดความรำคาญ อยู่ด้วยภาวะความเครียด ไม่มีความสุข เช่น อาศัยอยู่ในบริเวณที่ระเบิดหินเพื่อนำมาทำปูนซีเมนต์ ทำให้เกิดฝุ่นควันคละคลุ้งอยู่ตลอด อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีคนเผาถ่านขายทำให้ต้องสูดดมควันเข้าไปทุกวัน เป็นต้น

ผลกระทบต่อสิ่งอื่น

– ผลกระทบต่อพืช เพราะพืชก็ต้องดำรงชีวิตด้วยการหายใจเข้าใจปรุงอาหาร และสังเคราะห์ หากมีมลพิษต่างๆ ที่แปลกปลอมมีสารปนเปื้อนก็จะสามารถส่งผลต่อพืชได้เช่นกัน เช่น ทำอันตรายต่อเซลล์ของใบพืชทำให้ใบเหลือง คลอโรฟิลด์ถูกทำลาย ใบเกิดเป็นจุดด่าง ส่งผลให้พืชตายได้
– ผลกระทบต่อพืช สัตว์ก็ต้องหายใจเช่นเดียวกับมนุษย์ เมื่อหายใจเอามลพิษเข้ามากๆ ก็จะทำให้มีสารพิษเจือปนในร่างกายส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ได้เช่นเดียวกับมนุษย์เช่นกัน เมื่อสะสมมากๆ ก็ทำให้เกิดการป่วย และเสียชีวิตได้ สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์มาก เช่น ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม เป็นต้น
– ผลกระทบต่อสถาปัตยกรรม และสิ่งปลูกสร้าง มลพิษทางอากาศที่มีสารบางชนิดที่ทำปฏิกิริยาทางเคมีแล้วส่งผลให้วัสดุทั้งหลายสึกกร่อนได้ เช่น การหลุดลอกของพื้นผิวผนัง พลาสติกเปราะหรือแตกหัก ผิวเซรามิกซ์จากที่มันเลื่อมกลายเป็นด้าน เป็นต้น

Comments are Closed